วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ออกแบบTemplete PowerPoint ภายใต้แนวคิด “นี่คือ ศึกษาศาสตร์ ม.บูรพา บางแสน”

Analogus Templete version Thai : โครงสีข้างเคียง โดยใช้สี น้ำเงิน ฟ้าเข้ม ไล่ลงมาสีฟ้า และเขียว

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง



ส่วนที่ 2 เนื้อหา



ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ



Analogus Templete Version English : โครงสีข้างเคียง โดยใช้สี น้ำเงิน ฟ้าเข้ม ไล่ลงมาสีฟ้า และเขียว

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง


ส่วนที่ 2 เนื้อหา


ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ


Dyads Templete version Thai : ใช้สีฟ้า และสีเหลือง

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง


ส่วนที่ 2 เนื้อหา


ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ


Dyads Templete Version English : ใช้สีฟ้า และสีเหลือง

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง


ส่วนที่ 2 เนื้อหา


ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ


Monochrome Templete version Thai : โครงสีเอกรงค์ โดยใช้สี ฟ้า

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง


ส่วนที่ 2 เนื้อหา


ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ


Monochrome Templete Version English : ใช้สีฟ้า และสีเหลือง

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง


ส่วนที่ 2 เนื้อหา


ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ



Tetrads Templete version Thai : โครงสี 4 สี โดยใช้สีเหลือง ฟ้า แดง เขียว

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง


ส่วนที่ 2 เนื้อหา


ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ


Tetrads Templete version English : โครงสี 4 สี โดยใช้สีเหลือง ฟ้า แดง เขียว

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง


ส่วนที่ 2 เนื้อหา


ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ


Triads Templete version Thai : โครงสี 3 สี โดยใช้สีฟ้า เหลือง แดง

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง


ส่วนที่ 2 เนื้อหา


ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ


Triads Templete version English : โครงสี 3 สี โดยใช้สีฟ้า เหลือง แดง

ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง


ส่วนที่ 2 เนื้อหา


ส่วนที่ 3 จบการนำเสนอ ขอบคุณ

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

ออกแบบโปสเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Adobe Photoshop

1.รณรงค์การใช้ 13 ฟอนต์แห่งชาติ ใช้โครงสี Analogus


2.รณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัย ใช้โครงสี Triads


3.รณรงค์ให้งดสูบบุหรี่ในสถานศึกษา และห้ามสูบบุหรี่ในขณะใส่ชุดนิสิต ใช้โครงสี Monochrome



4.รณรงค์มารยาทไทย การไหว้ ทักทายสวัสดี ใช้โครงสี Dyads


5.หัวข้ออิสระ (ลดโลกร้อน) ใช้โครงสี Tetrads

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

WORK 2

Poster 1




ออกแบบตัวอักษรทองคำ

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

การออกแบบกราฟิกในงานโปสเตอร์

โปสเตอร์ (Poster)



โปสเตอร์ (Poster)หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ที่เป็นแผ่นเดียวมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ผู้จัดทำ ใช้ติดตามสถานที่ต่าง ๆ ในแนวตั้ง เช่น ผนัง ตู้กระจก เสาไฟฟ้า ฯลฯ มีเนื้อหาสาระเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการหรืองานอื่นๆที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วมักนำเสนอเพียงแนวความคิดเดียวเป็นหลักใหญ่

ประโยชน์ของโปสเตอร์อาจมีหลายจุดประสงค์ เช่น
1. โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาสินค้า/บริการ งานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์
2. เพื่อใช้ในการศึกษานำเสนอสาระใดสารหนึ่ง
3. เพื่อเป็นสื่อการสอนอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ
4. นำเสนอผลงานทางวิชาการ


ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดี
1. รูปแบบต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
2. มีลักษณะ เด่นชัด มองเห็นสะดุดตา
3. ข้อความนั้นต้องสั้น กระชับได้ใจความ
4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
5. มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล
8. ในเรื่องการนำเสนอต้องมีข้อมูลเพียงเรื่องเดียวและที่สำคัญตรงประเด็น



ส่วนประกอบของโปสเตอร์
1.ข้อความพาดหัว
2.รายละเอียด
3.รูปภาพประกอบ
4.คำขวัญ/สโลแกนเพื่อจูงใจ/ข้อความลงท้าย
5.โลโก้ของหน่วยงานเจ้าของโปสเตอร์
6.อื่น ๆ


หลักการออกแบบโปสเตอร์
1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง
2. ไม่ควรใส่ข้อความแน่นหรือมีจำนวนมากเกินไป
3. ควรคำนึงถึงหลักทฤษฎีสีและศิลปะในการออกแบบ
5. ควรเว้นระยะขอบประมาณ 0.5 ซ.ม.
6. ภาพให้เหมาะสมกับเนื้อหา





วิจารณ์โปสเตอร์




1.มีการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะเด่นชัด ที่สะท้อนถึงความเป็นไทย ซึ่งสอดคล้องวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ
2.รูปภาพมีความงดงาม สง่างาม แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ
3.ข้อความสั้น กระชับได้ใจความ มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
4.ใช้ตัวอักษรได้สวยงาม สะท้อนถึงความเป็นไทย และใช้สีที่ตัดกับพื้นหลัง ทำให้มองเห็นได้ชัดเจน
5.โดยภาพรวใช้สีที่โทนเดียวกัน ทำให้ดูเป็นเอกลักษณ์ สุขุม เรียบร้อย

การวางโครงสีในงานกราฟิก

การวางโครงสี Colour Schematic

การใช้สีคือ การนำเอาสีไปใช้ในงานออกแบบ หลายคนไม่รู้จะใช้สีอย่างไรดี เลือกเอาสีที่ตัวเองชอบปะเข้าไปในงาน ผลก็คือ ทำให้งานดี ๆ ของเขาออกมาเสียหมดดังนั้นจึงมีทฤษฎีของการใช้สี หรือการเลือกสีมาใช้ร่วมกันในภาพ เพื่อให้ภาพออกมาดูดี ดูน่าพึงพอใจเรียกว่า Colour Schematic หรือการวางโครงสี (ซึ่งบางคนก็คุ้นกับคำว่า การจับคู่สี การเลือกคู่สี)


Monochrome

โครงสีเอกรงค์ คือมีเนื้อสี Hue เดียว แต่ให้ความแตกต่างด้วยน้ำหนักสีValue สีเอกรงค์นี้ ให้อารมณ์ ความรู้สึก สุขุม เรียบร้อยเป็นสากล






Analogus
โครงสีข้างเคียง คือสีที่อยู่ติดกัน อยู่ข้างเคียงกัน ในวงจรสี จะเป็นที่ละ 2 หรือ 3 หรือ 4 สีก็ได้ แต่ไม่ควรมากกว่านี้เพราสีอาจจะหลุดจากความข้างเคียง หรือ หลุดออกจากโครงสีนี้ได้







Dyads
โครงสีคู่ตรงข้าม Complementary Colour คือสีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงจรสี การเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามจะทำให้งานที่ได้มีความสะดุดตาในการมองแต่ก็ต้องระวังการใช้สีคู่ตรงข้าม





Triads
โครงสี 3 สี คือ
1. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 เท่ากัน ถ้าเราลากเส้นระหว่างสีทั้ง 3 สี เราจะได้สามเหลี่ยมด้านเท่า
2. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 ไม่เท่ากันคือมีช่วงห่าง 2 ช่วงเท่ากัน แต่กับอีกอันหนึ่งช่วงห่างจะยาวกว่า ถ้าลากเส้นระหว่างสีแล้วจะได้สามเหลี่ยมหน้าจั่ว






Tetrads
โครงสี 4 สี คือ
1. การใช้สีในวงจรสี 4 สี โดยเลือกสีที่มีช่วงห่างระหว่างสีเท่ากันหมดกล่าวคือ ถ้าเราลากเส้นเชื่อมสีทั้ง 4 สีแล้ว เราจะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัส
2. การใช้สีในวงจรสี 4 สี โดยเลือกสีที่มีช่วงห่างระหว่างสีไม่เท่ากันโดยช่วงห่างของ 2 สีเป็นช่วงสั้นและอีก 2 สีเป็นช่วงยาว กล่าวคือถ้าเราลากเส้นเชื่อมสีทั้ง 4 สีแล้ว เราจะได้สี่เหลี่ยมผืนผ้า